คำค้นหาบ่อย :
ข่าวสารประชาสัมพันธ์
งานประชุมวิชาการนานาชาติ Probiotics and Functional Food International Summit 2023
ระหว่างวันที่ 4 - 6 ธันวาคม 2566 ดร.ประมวล ทรายทอง รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย/นักวิจัยชำนาญการพิเศษ และ ดร.จุฑามาศ กลิ่นโซดา นักวิจัย ชำนาญการ ฝ่ายจุลชีววิทยาประยุกต์ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าร่วมประชุมวิชาการนานาชาติ Probiotics and Functional Food International Summit 2023 เพื่อแชร์ประสบการณ์และแนวคิดทางการพัฒนางานวิจัย ในฐานะ invited speaker ณ Mariano Marcos State University ประเทศฟิลิปปินส์
ข่าวสารประชาสัมพันธ์
บูธจัดแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรม เรื่อง “การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตแหนมเห็ดเพื่อสุขภาพ และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากแหนมเห็ดในพื้นที่ตำบลขนงพระ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา”
ระหว่างวันที่ 7 – 11 สิงหาคม 2566 คุณพัทธินันท์ วาริชนันท์ นักวิจัยชำนาญการ ฝ่ายจุลชีววิทยาประยุกต์ และคุณญาธิปวีร์ ปักแก้ว นักวิทยาศาสตร์ ฝ่ายโภชนาการและสุขภาพ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร เข้าร่วมจัดแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมภายในกิจกรรมส่งเสริมการวิจัย “Research Knowledge Management : งานวิจัยขายได้” เรื่อง “การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตแหนมเห็ดเพื่อสุขภาพ และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากแหนมเห็ดในพื้นที่ตำบลขนงพระ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา” ในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 (Thailand Research Expo 2023)” ณ บูธ KL5 โรงแรมเซ็นทราราแกรน์ และบางกอกคอนเวนชัน เซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ
ข่าวสารประชาสัมพันธ์
บทความวิจัยเรื่อง "ผลของการใช้เวย์โปรตีนไอโซเลทและอินูลินเป็นสารทดแทนไขมัน ต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีและกายภาพของไอศกรีมไขมันต่ำ"
บทความวิจัยเรื่อง "ผลของการใช้เวย์โปรตีนไอโซเลทและอินูลินเป็นสารทดแทนไขมัน ต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีและกายภาพของไอศกรีมไขมันต่ำ" โดย ดร.นภัสสร เพียสุระ นักวิจัย ฝ่ายจุลชีววิทยาประยุกต์สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร และคณะ บทความจากวารสารวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร : https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/JFRPD
ข่าวสารประชาสัมพันธ์
งาน Functional Ingredients R&D Matching from the Ground Up
เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุมจามจุรีบอลรูม โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส นักวิจัยฝ่ายโภชนาการและสุขภาพ สถาบันฯ เข้าร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “แนวทางการยกระดับนวัตกรรมและธุรกิจ Functional Ingredients เพื่อผลิตภัณฑ์เชิงสุขภาพและเชิงหน้าที่ของไทย” และร่วมเป็นวิทยากรในช่วงของการจัด กิจกรรม “Star Search”- R&D Matching for Success” ในงาน Functional Ingredients R&D Matching from the Ground Up ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการยกระดับความสามารถประเทศไทยให้เป็นผู้ผลิตเกษตรและอาหารเชิงฟังก์ชันได้จริง เพื่อให้ผู้มีแผนการพัฒนาส่วนประกอบเชิงหน้าที่เพื่อผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพเข้าใจถึงหลักการ มาตรฐาน ขั้นตอนในการออกแบบและผลิตส่วนประกอบเชิงหน้าที่ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำและได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนกับเครือข่าย และสนับสนุนระบบนิเวศน์ที่ควรรู้ด้าน Functional Foods และ Food with Function Claims (FFC) เพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทยตลอดห่วงโซ่ จัดโดย สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT) โดย “Food Innovation & Regulation Network (FIRN)” ในงานดังกล่าว นักวิจัยทั้ง 3 ท่าน ได้ร่วมพูดคุยกับผู้ประกอบการ นักวิจัยด้านอาหาร จากทั้งภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้ยังได้หารือถึงแนวทางต่อยอดความร่วมมือวิจัย นวัตกรรมและธุรกิจ Functional Ingredients เพื่อผลิตภัณฑ์เชิงสุขภาพและเชิงหน้าที่ของไทย
ข่าวสารประชาสัมพันธ์
FQA Lab พัฒนาวิธีวิเคราะห์ สำหรับงานวิจัยเฉพาะทาง โดย IFRPD ภายใต้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
FQA Lab พัฒนาวิธีวิเคราะห์ สำหรับงานวิจัยเฉพาะทาง โดย IFRPD ภายใต้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ FQA LAB มีนักวิทยาศาสตร์ที่ชำนาญและเครื่องมือที่ทันสมัยในการพัฒนาและปรับใช้เทคนิคการวิเคราะห์ที่ซับซ้อน ในการวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อตอบสนองความต้องการงานวิจัยตามโจทย์วิจัยเฉพาะบุคคล #IFRPD_Content_15
ข่าวสารประชาสัมพันธ์
ขอแสดงความยินดีกับบุคลากรวิจัยที่ได้รับจัดสรรทุนวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2567 จาก ศูนย์สิรินธรเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ขอแสดงความยินดีกับบุคลากรวิจัยที่ได้รับจัดสรรทุนวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2567 จาก ศูนย์สิรินธรเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงการ : การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเสาวรสและการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้กับศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ หัวหน้าโครงการ : ดร.พิศมัย ศรีชาเยช นักวิจัย ชำนาญการ ฝ่ายกระบวนการผลิตและแปรรูป
ข่าวสารประชาสัมพันธ์
สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ขอแสดงความยินดีกับบุคลากรวิจัยที่ได้รับจัดสรรทุนวิจัย จาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)
สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ขอแสดงความยินดีกับบุคลากรวิจัยที่ได้รับจัดสรรทุนวิจัย จาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) โครงการ : การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบของสารสำคัญในหม่อนที่มีคุณประโยชน์เชิงสุขภาพเพื่อประยุกต์ใช้ในระบบยื่นขอคำกล่าวอ้างเชิงหน้าที่ของอาหาร หัวหน้าโครงการ : ดร.ดาลัด ศิริวัน นักวิจัย เชี่ยวชาญ ฝ่ายโภชนาการและสุขภาพ
ข่าวสารประชาสัมพันธ์
บูธนิทรรศการในงานประชุม “RAINS by KU Research Connect”
สถาบันฯ ร่วมจัดบูธนิทรรศการ ในงานประชุม “RAINS by KU Research Connect” เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านอุตสาหกรรมอาหาร ระหว่างนักวิจัยและภาคเอกชน ในเครือข่าย RAINS for Thailand Food Valley by KU ณ ห้องประชุม 214 ชั้น 2 และห้องโถงนิทรรศการ ชั้น 3 อาคารอมรภูมิรัตน สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ข่าวสารประชาสัมพันธ์
ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ “การป้องกันการเน่าเสียแบบเหลวเป็นน้ำของขนมจีน”
เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2566 ดร.สิรินันท์ ชมภูแสง นักวิจัยชำนาญการพิเศษ ฝ่ายจุลชีววิทยาประยุกต์ คุณพัทธินันท์ วาริชนันท์ นักวิจัยชำนาญการ ฝ่ายจุลชีววิทยาประยุกต์ ดร.ซาฟียะห์ สะอะ นักวิจัยชำนาญการ ฝ่ายโภชนาการและสุขภาพ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ Dr. Junichiro Marui นักวิจัยอาวุโส จาก Japan International Research Center for Agricultural Sciences (JIRCAS) ได้จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ “การป้องกันการเน่าเสียแบบเหลวเป็นน้ำของขนมจีน” ณ สถานที่ผลิตขนมจีนของวิสาหกิจชุมชนเพื่อความมั่นคงทางอาหารที่ปลอดภัย ต.เตาปูน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ภายใต้โครงการ “การจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการป้องกันการเน่าเสียแบบเหลวเป็นน้ำของขนมจีนสู่วิสาหกิจชุมชนเพื่อความมั่นคงทางอาหารที่ปลอดภัย ต.เตาปูน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี” ซึ่งโครงการดังกล่าวได้รับทุนอุดหนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปีงบประมาณ 2566 เพื่อนำองค์ความรู้การป้องกันการเน่าเสียแบบเหลวเป็นน้ำของขนมจีน ไปถ่ายทอดสู่สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อความมั่นคงทางอาหารที่ปลอดภัย ต.เตาปูน สมาชิกกลุ่มกสิกรรมธรรมชาติ (พ่อสร้าง ลูกสาน) โพธาราม รวมทั้งผู้ผลิตและผู้ค้าขนมจีนในพื้นที่ ซึ่งจะทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถแก้ปัญหาการเน่าเสียของของขนมจีนที่กำลังประสบอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ