มะรุม โปรตีนพืชทางเลือกสำหรับผู้สูงอายุ

มะรุม โปรตีนพืชทางเลือกสำหรับผู้สูงอายุ
ชื่อวารสาร/ชื่อบทความ มะรุม โปรตีนพืชทางเลือกสำหรับผู้สูงอายุ
ปีที่/ฉบับที่ วารสารวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ปีที่ 52 ฉบับที่ 4 ของปี พ.ศ. 2565
โทรศัพท์ 0 2579 5587
อีเมล fic.ifrpd@gmail.com
ลิงก์วารสาร https://kukrdb.lib.ku.ac.th/journal/FOOD/search_detail/result/20016761
วารสารฉบับเต็ม

รายละเอียด

 

มะรุม: โปรตีนพืชทางเลือกสำหรับผู้สูงอายุ (Moringa oleifera: Alternative protein for elderly)
โดย : ดร.ซาฟียะห์ สะอะ (Safiah Saah, Ph.D)
ฝ่ายโภชนาการและสุขภาพ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ปีที่ 52 ฉบับที่ 4 หน้า 27-35

ภาวะทุพโภชนาการขาดโปรตีนจะส่งผลโดยตรงต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันทุกระบบ โดยเฉพาะผู้สูงอายุมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องรับโปรตีนอย่างเพียงพอ โดยปกติแล้วแหล่งโปรตีนมักจะได้มาจากเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์อย่างไข่และนม ถึงแม้โปรตีนจากสัตว์จะเป็นโปรตีนคุณภาพดี แต่โปรตีนจากเนื้อสัตว์จะมีไขมันสูงและมีโฮโมซิสเตอีนสูง ซึ่งจะเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบในร่างกายเพิ่มขึ้น ดังนั้นแหล่งโปรตีนจากพืชจึงเป็นทางเลือกใหม่ เนื่องจากมีพืชบางชนิดที่มีโปรตีนอยู่ไม่น้อยและให้แคลอรีต่ำ อีกทั้งปัจจุบันโปรตีนจากพืช (plant-based protein) กำลังเป็นที่นิยมในการรับประทานกันมากขึ้น

มะรุมเป็นหนึ่งในพืชที่มีปริมาณโปรตีนสูงโดยพบว่า ในใบมะรุมมีโปรตีนสูงกว่านมสดถึง 2 เท่า และยังมีกรดอะมิโนจำเป็นที่สำคัญหลายชนิดที่จำเป็นต่อร่างกาย รวมถึงแร่ธาตุ กรดไขมัน และวิตามิน และที่สำคัญมะรุมยังมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็น ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง และต้านการอักเสบ