บทความวิชาการ "การลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) จากฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารพฤกษเคมีในเคพกูสเบอร์รี"
5 มี.ค. 2567
|
อ่าน : 68 ครั้ง
บทความวิชาการ "การลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) จากฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารพฤกษเคมีในเคพกูสเบอร์รี"
โดย ดร.นราพร พรหมไกรวร นักวิจัย ชำนาญการ ฝ่ายเคมีและกายภาพอาหาร
สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
ความรุนแรงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจและระบบสมองเป็นต้น อันเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของประชากรไทยและประชากรโลก โดยภาวะอักเสบเรื้อรังในระดับเซลล์ การสร้างสารตัวกลางจำนวนมาก และการทำงานของภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อาการของโรคในกลุ่มนี้มีความรุนแรงขึ้น
การใช้ประโยชน์เชิงสุขภาพจากพืชชนิดต่าง ๆ เป็นแนวทางที่ได้รับความสนใจ ทั้งในแง่การค้นหาสารพฤกษเคมีชนิดใหม่ หรือใช้พืชชนิดต่าง ๆ เป็นแหล่งของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ในส่วนของ เคพกูสเบอร์รีนั้น ถือเป็นไม้ผลที่ได้รับการคัดเลือกและพัฒนาสายพันธุ์ให้มีความเหมาะสมในการเพาะปลูกในประเทศไทยมายาวนานกว่า 40 ปี และยังเป็นแหล่งของสารพฤกษเคมีหลายชนิด
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "สารประกอบฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันที่ดี" จึงสามารถใช้ประโยชน์จากเคพกูสเบอร์รีในการลดระดับการอักเสบและจำกัดการอักเสบให้อยู่ในภาวะที่เหมาะสม ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจากจุดเริ่มต้น และยังลดความรุนแรงของโรคได้อีกด้วย
คำสำคัญ : เคพกูสเบอร์รี; โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง; การอักเสบเรื้อรัง; ฤทธิ์ต้านการอักเสบ; สารพฤกษเคมี
สามารถเข้าถึงบทความดังกล่าวได้ที่ : https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/JFRPD/article/view/5411
บทความจากวารสารวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร :
https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/JFRPD
วารสารวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ขอเชิญชวนท่านผู้สนใจส่งบทความวิจัยหรือบทความวิชาการ ด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร เทคโนโลยีการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร เทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร เคมีอาหาร องค์ความรู้ด้านโภชนาการ การวิเคราะห์คุณสมบัติต่าง ๆ และองค์ความรู้ทางวิชาการด้านอาหารที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับการเผยแพร่ในวารสารฯ โดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มและข้อเสนอแนะการเขียนบทความได้ที่ : https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/JFRPD
ลักษณะของบทความที่ตีพิมพ์
- บทความวิจัย (research article) หรือ บทความปริทัศน์ (review article) ที่มีเนื้อหาทางด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร เช่น เทคโนโลยีการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร เทคโนโลยีชีวภาพ องค์ความรู้ด้านโภชนาการ และการวิเคราะห์คุณสมบัติต่าง ๆ โดยบทความดังกล่าวจะต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อน
- บทความทุกเรื่องจะได้รับการพิจารณากลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อยจำนวน 3 ท่าน/ 1 บทความ
- รูปแบบการพิจารณา คือ ผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา (Double-blinded peer review)
ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ใด ๆ ในทุกขั้นตอน
ท่านสามารถเข้าชมบทความดังกล่าวได้ที่ "วารสารวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร" ผ่านระบบจัดการวารสารออนไลน์ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Kasetsart University Open Journal System : KUOJS) :https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/JFRPD และสามารถเข้าชม "วารสารอาหาร" (ชื่อเดิม) ฉบับย้อนหลังได้ที่ "คลังความรู้ดิจิทัล มก." : https://kasets.art/5X6mdt