โปรตีนพืชอาหารแห่งอนาคตเพื่อลดคาร์บอนฟุตพรินต์ในอาหารจานด่วน

โปรตีนพืชอาหารแห่งอนาคตเพื่อลดคาร์บอนฟุตพรินต์ในอาหารจานด่วน
ชื่อวารสาร/ชื่อบทความ โปรตีนพืชอาหารแห่งอนาคตเพื่อลดคาร์บอนฟุตพรินต์ในอาหารจานด่วน
ปีที่/ฉบับที่ วารสารวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ปีที่ 53 ฉบับที่ 2 ของปี พ.ศ. 2566
โทรศัพท์ 0 2579 5587
อีเมล fic.ifrpd@gmail.com
ลิงก์วารสาร https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/JFRPD/article/view/5483

รายละเอียด

โปรตีนพืชอาหารแห่งอนาคตเพื่อลดคาร์บอนฟุตพรินต์ในอาหารจานด่วน
โดย ดร.ฐิตาภรณ์ ตัมพานุวัตร
นักวิจัย ชำนาญการ ฝ่ายกระบวนการผลิตและแปรรูป
สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร และคณะ

ปัจจุบันโปรตีนพืชกลายเป็นเทรนด์ของอุตสาหกรรมอาหาร นอกจากจะนำมาใช้ในการทดแทนเนื้อสัตว์แล้ว ยังสามารถเข้ากับรูปแบบของการใช้ชีวิตของคนในยุคสมัยใหม่ที่หันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น

โปรตีนพืชช่วยเพิ่มสมดุลในการใช้วัตถุดิบจากกรณีที่โลกต้องเผชิญกับสภาวะขาดแคลนเนื้อสัตว์ เนื่องจากปัญหาสภาพสิ่งแวดล้อมรวมถึงช่วยลดสภาวะโลกร้อนที่เกิดจากก๊าซเรือนกระจก จากปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมาจึงทำให้ผู้บริโภคเห็นความสำคัญและหันมาบริโภคอาหารเพื่อความยั่งยืนมากขึ้น

โดยเฉพาะการเปลี่ยนรูปแบบของอาหารประเภทอาหารจานด่วน เช่น แฮมเบอร์เกอร์ ไส้กรอก นักเก็ต พิซซ่า ฯลฯ จากโปรตีนเนื้อสัตว์เดิมเปลี่ยนเป็นโปรตีนจากพืช ทำให้อุตสาหกรรมอาหารเริ่มปรับตัวมาใช้โปรตีนจากพืชมากขึ้น เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้มีปริมาณน้อยลง ซึ่งการจัดทำคาร์บอนฟุตพรินต์จะช่วยประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและรับมือกับภาษีคาร์บอนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

สามารถเข้าถึงบทความดังกล่าวได้ที่ : https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/JFRPD/article/view/5483

คำสำคัญ : คาร์บอนฟุตพริ้นท์; อาหารจานด่วน; โปรตีนจากพืช; carbon footprint; fast food; plant-based protein

บทความจากวารสารวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร :
https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/JFRPD

--
วารสารวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ขอเชิญชวนท่านผู้สนใจส่งบทความวิจัยหรือบทความวิชาการ ด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร เทคโนโลยีการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร เทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร เคมีอาหาร องค์ความรู้ด้านโภชนาการ การวิเคราะห์คุณสมบัติต่าง ๆ และองค์ความรู้ทางวิชาการด้านอาหารที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับการเผยแพร่ในวารสารฯ โดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มและข้อเสนอแนะการเขียนบทความได้ที่ : https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/JFRPD

ลักษณะของบทความที่ตีพิมพ์
- บทความวิจัย (research article) หรือ บทความปริทัศน์ (review article) ที่มีเนื้อหาทางด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร เช่น เทคโนโลยีการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร เทคโนโลยีชีวภาพ องค์ความรู้ด้านโภชนาการ และการวิเคราะห์คุณสมบัติต่าง ๆ โดยบทความดังกล่าวจะต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อน

- บทความทุกเรื่องจะได้รับการพิจารณากลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อยจำนวน 3 ท่าน/ 1 บทความ

- รูปแบบการพิจารณา คือ ผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา (Double-blinded peer review)

ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ใด ๆ ในทุกขั้นตอน 
--------------------------------------------------------------------------
ท่านสามารถเข้าชมบทความดังกล่าวได้ที่ "วารสารวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร" ผ่านระบบจัดการวารสารออนไลน์ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Kasetsart University Open Journal System : KUOJS) :
https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/JFRPD
--
และสามารถเข้าชม "วารสารอาหาร" (ชื่อเดิม) ฉบับย้อนหลังได้ที่ "คลังความรู้ดิจิทัล มก." : https://kasets.art/5X6mdt