คีเฟอร์ : ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มหมักเพื่อสุขภาพ

คีเฟอร์ : ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มหมักเพื่อสุขภาพ
ชื่อวารสาร/ชื่อบทความ คีเฟอร์ : ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มหมักเพื่อสุขภาพ
ปีที่/ฉบับที่ วารสารวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ปีที่ 53 ฉบับที่ 2 ของปี พ.ศ. 2566
โทรศัพท์ 0 2579 5587
อีเมล fic.ifrpd@gmail.com
ลิงก์วารสาร https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/JFRPD/article/view/5511

รายละเอียด

คีเฟอร์ : ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มหมักเพื่อสุขภาพ
โดย ดร.วนิดา ปานอุทัย
นักวิจัย เชี่ยวชาญ ฝ่ายจุลชีววิทยาประยุกต์
สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร และคณะ

ในปัจจุบันผู้บริโภคมีการให้ความสำคัญเกี่ยวกับอาหารทางเลือกเพื่อสุขภาพเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่มีจุลินทรีย์โพรไบโอติก ซึ่งมีส่วนช่วยในการสร้างสมดุลของระบบย่อยอาหาร และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันจึงกำลังเป็นที่นิยม

ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มคีเฟอร์เป็นผลิตภัณฑ์หมักที่เป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งรสชาติและสารอาหารของคีเฟอร์ มีความแตกต่างกันไปตามชนิดของสารตั้งต้นและกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในกระบวนการหมัก สามารถแบ่งได้เป็น
- คีเฟอร์นมที่ใช้นมเป็นวัตถุดิบหลัก และ
- คีเฟอร์น้ำที่ไม่ใช้นมเป็นวัตถุดิบหลัก เพื่อเป็นทางเลือกให้ให้แก่ผู้ที่แพ้ผลิตภัณฑ์นม แพ้แล็กโทส และผู้ที่บริโภคมังสวิรัติ

*นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์คีเฟอร์ยังมีฤทธิ์ทางชีวภาพ ช่วยในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้

คำสำคัญ : คีเฟอร์นม; คีเฟอร์น้ำ; จุลินทรีย์; ฤทธิ์ทางชีวภาพ

สามารถเข้าถึงบทความดังกล่าวได้ที่ : https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/JFRPD/article/view/5511

บทความจากวารสารวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร :
https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/JFRPD
--

วารสารวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ขอเชิญชวนท่านผู้สนใจส่งบทความวิจัยหรือบทความวิชาการ ด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร เทคโนโลยีการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร เทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร เคมีอาหาร องค์ความรู้ด้านโภชนาการ การวิเคราะห์คุณสมบัติต่าง ๆ และองค์ความรู้ทางวิชาการด้านอาหารที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับการเผยแพร่ในวารสารฯ โดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มและข้อเสนอแนะการเขียนบทความได้ที่ : https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/JFRPD

ลักษณะของบทความที่ตีพิมพ์
- บทความวิจัย (research article) หรือ บทความปริทัศน์ (review article) ที่มีเนื้อหาทางด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร เช่น เทคโนโลยีการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร เทคโนโลยีชีวภาพ องค์ความรู้ด้านโภชนาการ และการวิเคราะห์คุณสมบัติต่าง ๆ โดยบทความดังกล่าวจะต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อน
- บทความทุกเรื่องจะได้รับการพิจารณากลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อยจำนวน 3 ท่าน/ 1 บทความ
- รูปแบบการพิจารณา คือ ผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา (Double-blinded peer review)

ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ใด ๆ ในทุกขั้นตอน
--
สามารถเข้าชม "วารสารอาหาร" (ชื่อเดิม) ฉบับย้อนหลังได้ที่ "คลังความรู้ดิจิทัล มก." : https://kasets.art/5X6mdt