อาหารและเครื่องดื่มฟังก์ชัน

อาหารและเครื่องดื่มฟังก์ชัน
ชื่อวารสาร/ชื่อบทความ อาหารและเครื่องดื่มฟังก์ชัน
ปีที่/ฉบับที่ วารสารวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ปีที่ 53 ฉบับที่ 2 ของปี พ.ศ. 2566
โทรศัพท์ 0 2579 5587
อีเมล fic.ifrpd@gmail.com
ลิงก์วารสาร https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/JFRPD/article/view/5427

รายละเอียด

 
บทความวิชาการ "อาหารและเครื่องดื่มฟังก์ชัน "
โดย คุณณฐิฒา รอดขวัญ นักวิจัย ชำนาญการ
ฝ่ายกระบวนการผลิตและแปรรูป สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร

ในปัจจุบันผู้บริโภคหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น โดยในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ระบาด จะเห็นได้ว่าผู้บริโภคได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค โดยสนใจทั้งเรื่องความปลอดภัยของอาหารและสินค้าที่มีฟังก์ชันอื่น เช่น ช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันและการป้องกันโรค เป็นต้น ดังนั้นอาหารฟังก์ชัน (functional foods and beverages) จึงเป็นอาหารกลุ่มที่ได้รับความนิยมในตลาดมากขึ้น

โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization, FAO) ได้ให้นิยามของอาหารฟังก์ชัน คือ อาหารที่มีประโยชน์นอกเหนือจากโภชนาการขั้นพื้นฐาน มีประโยชน์ด้านสุขภาพที่สามารถป้องกันและรักษาโรคได้

ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารฟังก์ชันต้องคำนึงถึง
- ปริมาณและความคงตัวของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
- ลักษณะทางประสาทสัมผัสและลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ ซึ่งขึ้นอยู่กับส่วนผสมและกระบวนการผลิต รวมถึงยังต้องคำนึงถึงเรื่อง
- ความปลอดภัย
- อายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์
- หลักเกณฑ์และข้อกำหนดต่าง ๆ ของแต่ละประเทศในการกล่าวอ้างทางสุขภาพ (health claims) และการกล่าวอ้างเชิงหน้าที่ (foods with function claims)

คำสำคัญ : อาหารฟังก์ชัน; เครื่องดื่มฟังก์ชัน; เครื่องดื่มนิวทราซูติคอล; อาหารเพื่อสุขภาพ; เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ; การผลิตอาหาร; สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ; คุณค่าทางโภชนาการ; กฎหมาย; ความปลอดภัยทางอาหาร; การเสริมภูมิคุ้มกัน; การพัฒนาผลิตภัณฑ์

สามารถเข้าถึงบทความดังกล่าวได้ที่ : https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/JFRPD/article/view/5427

บทความจากวารสารวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร :
--

วารสารวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ขอเชิญชวนท่านผู้สนใจส่งบทความวิจัยหรือบทความวิชาการ ด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร เทคโนโลยีการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร เทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร เคมีอาหาร องค์ความรู้ด้านโภชนาการ การวิเคราะห์คุณสมบัติต่าง ๆ และองค์ความรู้ทางวิชาการด้านอาหารที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับการเผยแพร่ในวารสารฯ โดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มและข้อเสนอแนะการเขียนบทความได้ที่ : https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/JFRPD

ลักษณะของบทความที่ตีพิมพ์
- บทความวิจัย (research article) หรือ บทความปริทัศน์ (review article) ที่มีเนื้อหาทางด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร เช่น เทคโนโลยีการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร เทคโนโลยีชีวภาพ องค์ความรู้ด้านโภชนาการ และการวิเคราะห์คุณสมบัติต่าง ๆ โดยบทความดังกล่าวจะต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อน
- บทความทุกเรื่องจะได้รับการพิจารณากลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อยจำนวน 3 ท่าน/ 1 บทความ
- รูปแบบการพิจารณา คือ ผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา (Double-blinded peer review)

ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ใด ๆ ในทุกขั้นตอน 
--
"วารสารวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร" เผยแพร่ผ่านระบบจัดการวารสารออนไลน์ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Kasetsart University Open Journal System : KUOJS) :
https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/JFRPD
--
สามารถเข้าชม "วารสารอาหาร" (ชื่อเดิม) ฉบับย้อนหลังได้ที่ "คลังความรู้ดิจิทัล มก." : https://kasets.art/5X6mdt