บทความวิจัยเรื่อง "ผลของการใช้เวย์โปรตีนไอโซเลทและอินูลินเป็นสารทดแทนไขมัน ต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีและกายภาพของไอศกรีมไขมันต่ำ"
1 พ.ย. 2566
|
อ่าน : 67 ครั้ง
บทความวิจัยเรื่อง "ผลของการใช้เวย์โปรตีนไอโซเลทและอินูลินเป็นสารทดแทนไขมัน ต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีและกายภาพของไอศกรีมไขมันต่ำ"
โดย ดร.นภัสสร เพียสุระ นักวิจัย ฝ่ายจุลชีววิทยาประยุกต์สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร และคณะ
จุดเด่น
-การเติมเวย์โปรตีน 8% ลงในไอศกรีมทำให้อัตราการละลายช้าลงกว่าไอศกรีมนมสูตรไขมันเต็ม และเติมอินูลิน 8%
-การเติมสารทดแทนไขมัน คือ อินูลิน สามารถเพิ่มอัตราการขึ้นฟูของไอศกรีมได้มากที่สุด
-อินูลินทำให้ส่วนผสมไอศกรีมมีความหนืดมากกว่าการเติมเวย์ และมีสมบัติทางเคมีและกายภาพใกล้เคียงกับไอศกรีมนมสูตรไขมันเต็ม เหมาะที่จะนำมาพัฒนาสูตรไอศกรีมไขมันต่ำ
>> สามารถเข้าถึงบทความดังกล่าวได้ที่ : https://kukrdb.lib.ku.ac.th/journal/FOOD/search_detail/result/20018262?fbclid=IwAR1_XVrvCEdDwfosR6778Mp1877EKVrDSJqMig2r451mBP2IklUXnIVx4Io
คำสำคัญ : ไอศกรีม; ไอศกรีมนม; สูตรไขมันต่ำ; สารทดแทนไขมัน; เวย์โปรตีน; อินูลิน; สมบัติวิทยากระแส; การประเมินทางประสาทสัมผัส; คุณลักษณะทางประสาทสัมผัส; เนื้อสัมผัส; อัตราการละลาย; การขึ้นฟู; ความหนืด
>> บทความจากวารสารวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร :
https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/JFRPD
วารสารวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ขอเชิญชวนท่านผู้สนใจส่งบทความวิจัยหรือบทความวิชาการ ด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร เทคโนโลยีการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร เทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร เคมีอาหาร องค์ความรู้ด้านโภชนาการ การวิเคราะห์คุณสมบัติต่าง ๆ และองค์ความรู้ทางวิชาการด้านอาหารที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับการเผยแพร่ในวารสารฯ โดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มและข้อเสนอแนะการเขียนบทความได้ที่ : https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/JFRPD
ลักษณะของบทความที่ตีพิมพ์
- บทความวิจัย (research article) หรือ บทความปริทัศน์ (review article) ที่มีเนื้อหาทางด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร เช่น เทคโนโลยีการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร เทคโนโลยีชีวภาพ องค์ความรู้ด้านโภชนาการ และการวิเคราะห์คุณสมบัติต่าง ๆ โดยบทความดังกล่าวจะต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อน
- บทความทุกเรื่องจะได้รับการพิจารณากลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อยจำนวน 3 ท่าน/ 1 บทความ
- รูปแบบการพิจารณา คือ ผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา (Double-blinded peer review)
ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ใด ๆ ในทุกขั้นตอน
--------------------------------------------------------------------------
ท่านสามารถเข้าชมบทความดังกล่าวได้ที่ "วารสารวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร" ผ่านระบบจัดการวารสารออนไลน์ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Kasetsart University Open Journal System : KUOJS) :
https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/JFRPD
-------------------------------------------------------------------------------
และสามารถเข้าชม "วารสารอาหาร" (ชื่อเดิม) ฉบับย้อนหลังได้ที่ "คลังความรู้ดิจิทัล มก." : https://kasets.art/5X6mdt